วัดเกาะหงษ์
1. ชุมชนไทมอญ วัดเกาะหงษ์
วัดเกาะหงษ์ เป็นถูกก่อสร้างขึ้นโดยกลุ่มชาวมอญที่อพยพมาจากอาณาจักรมอญตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในปีพ.ศ. 2499 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประภาสต้นและทรงขออัญเชิญ “พระสังกัจจายน์ยืน” ไปยังพระนคร พระองค์ทรงพระราชทานเงิน 1 ชั่ง เพื่อสร้างองค์จำลองขึ้นใหม่ ศิลปกรรมของวัดเกาะเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมมอญที่มีเสาหงส์ตั้งอยู่รอบวัด ชาวบ้านจึงขนานนามว่า “วัดเหาะหงส์” ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดเกาะหงส์
2. สงกรานต์ วัดเกาะหงษ์
ชาววัดเกาะหงษ์จัดงานสงกรานต์วันที่ 19-21 เมษายนเป็นประจำทุกปี หรือสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน โดยวันที่งานจัดยิ่งใหญ่ที่สุด คือ วันอาทิตย์เป็นวันสรงน้ำพระหลวงปู่อินทร์ ภายในงานมีขบวนแห่เทพีสงกรานต์ที่ตกแต่งขบวนด้วยศิลปะการแทงหยวกจาก 12 หมู่บ้านในละแวกวัด รวมไปถึงการสรงน้ำพระและขนทรายเข้าวัดตามประเพณีเดิมอีกด้วย
3. ศิลปะการแทงหยวก ขบวนแห่เทพีสงกรานต์
ครูปราโมทย์ ทองอ่อน เป็นชาวชุมชนวัดเกาะหงษ์และนายช่างผู้ชำนาญด้านศิลปะพื้นบ้านการแทงหยวกอันเป็นที่ยอมรับของชาวนครสวรรค์ ครูปราโมทย์ได้สลักหยวกเป็นลวดลายสวยงามเพื่อใช้ประดับตกแต่งขบวนรถแห่เทพีสงกรานต์ของวัดเกาะหงษ์มาต่อเนื่องหลายปี ครูปราโมทย์ยังเป็นวิทยากรที่ถ่ายทอดความรู้ด้านการแกะสลักหยวกให้กับเยาวชนรุ่นหลังเพื่ออนุรักษ์และสืบสานศิลปะพื้นบ้านนี้ให้คงอยู่ต่อไป