1. กระบวนการพัฒนาแผนที่วัฒนธรรม
กระบวนการพัฒนาแผนที่วัฒนธรรมสำหรับเทศกาลสงกรานต์จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดตาก ใช้หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยหลายวิธีการ สามารถสรุปเป็นขั้นตอน ดังนี้
1.1
การประชุมกลุ่มย่อยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคศาสนา และชุมชน จำนวน 15-20 คน ได้ถูกจัดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้งในช่วงเดือนมิถุนายน กันยายน และพฤศจิกายน 2567 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการยกระดับงานเทศกาลสงกรานต์ท้องถิ่นเป็นระดับสากล
1. การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ระบุอัตลักษณ์งานสงกรานต์ของแต่ละพื้นที่ ด้วยวิธีการจัดกลุ่ม จุดเด่นงานสงกรานต์ด้วย Post-it ถกแนวทางการพัฒนายกระดับงานสงกรานต์ และพัฒนาแผนที่จินตภาพงานสงกรานต์
2. การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 จากผลการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 ถูกนำไปพัฒนาร่างแผนที่วัฒนธรรมงานสงกรานต์ นครสวรรค์ และ ตาก และรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุง
3. การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 3 นำเสนอแผนที่วัฒนธรรมงานสงกรานต์ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือการยกระดับงานสงกรานต์ของพื้นที่
1.2
การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คนได้ถูกสัมภาษณ์ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2567 เพื่อสอบถามข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทุนวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์ ประกอบด้วย หัวหน้าชุมชน ผู้จัดงานเทศกาลทั้งหน่วยงานภาครัฐ
และภาคศาสนา ศิลปิน และปราชญ์ท้องถิ่นทางด้านอาหารและงานศิลปหัตถกรรม
ลงพื้นที่ที่ 1-2 ลงพื้นที่ที่ 3-4 ลงพื้นที่ที่ 5-6
1.3
การสำรวจชุมชน
การสำรวจชุมชนในนครสวรรค์และตากมีขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2567 เพื่อเก็บข้อมูลด้านลักษณะทางกายภาพของชุมชนที่สัมพันธ์กับทุนวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ชุมชนและงานสงกรานต์ เช่น
แผนที่ครัวเรือนชาวไทยมอญที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผา
แผนที่ครัวเรือนบ้านวังหยวกไททรงดำที่ทอผ้า
แผนที่ครัวเรือนชุมชนบางมะฝ่อที่มีองค์ความรู้ด้านข้าวแช่
1.4
รายละเอียดการออกแบบสื่ออนิเมชั่นประกอบแผนที่วัฒนธรรม
รายงาน แสดงรายละเอียดการออกแบบสื่ออนิเมชั่นในด้านตัวละครหลัก
ตัวประกอบ และเนื้อเรื่อง พร้อมทั้งแสดงขั้นตอนการทำ storyboard, color script, พื้นหลัง animatic การลงสี composite
2. กระบวนการพัฒนาและวิเคราะห์ข้อมูลวัฒนธรรมรมงานเทศกาลเชิงพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
การพัฒนาและวิเคราะห์ข้อมูลวัฒนธรรมรมงานเทศกาลเชิงพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแผนที่ที่รวบรวมข้อมูลงานเทศกาลทางศาสนาของพื้นที่ใน 9 จังหวัด คือ กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างงานเทศกาลทางศาสนากับปัจจัยทางสภาพแวดล้อม สังคม-วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ขั้นตอนการพัฒนาแผนที่วัฒนธรรมงานเทศกาลสารสนเทศ มีดังนี้
2.1
การรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลงานเทศกาลทางศาสนาของพื้นที่ 9 จังหวัดใช้การรวบรวมจากงานเอกสารและสื่อออนไลน์ เพื่อระบุงานเทศกาลในพื้นที่ และข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม สังคม-วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
2.2
การพัฒนาระบบแผนที่สารสนเทศ
การพัฒนาระบบแผนที่ออนไลน์เพื่อแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ของ 9 จังหวัด โดยเน้นไปที่ข้อมูลขอบเขตการปกครอง ศาสนสถาน เส้นทางคมนาคม และข้อมูลทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญในการรวบรวม วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลที่เชื่อมโยงกันเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในหลายมิติ
การพัฒนาระบบนี้ต้องอาศัยการออกแบบระบบแผนที่ออนไลน์ที่มีการแสดงข้อมูลแบบอินเทอร์แอคทีฟ ผู้ใช้สามารถซูมเข้าถึงข้อมูลแต่ละพื้นที่และดูข้อมูลในเชิงลึก เช่น ข้อมูลขอบเขตการปกครองและตำแหน่งศาสนสถาน เป็นพื้นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ และการเข้าถึงศาสนสถาน ทั้งนี้การรวมข้อมูลทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ (Social and Economic GIS-Data) ช่วยเพิ่มมิติในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของประชากร กลุ่มชาติพันธุ์ รายได้ และการใช้จ่ายของครัวเรือน
ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อวางแผนพัฒนาจังหวัดและการจัดสรรทรัพยากรในเชิงภูมิศาสตร์
ประโยชน์ของระบบแผนที่ออนไลน์ คือ การเชื่อมโยงข้อมูลที่หลากหลายให้กลายเป็นภาพรวมทางพื้นที่ที่ชัดเจน ทำให้ผู้วางแผน นักวิจัย และผู้กำหนดนโยบายสามารถใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของประชากร การใช้ทรัพยากร การวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาสังคมในแต่ละพื้นที่
นอกจากนี้ยังสามารถช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านข้อมูลเทศกาลที่เชื่อมโยงกับกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ขณะที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมจะช่วยให้เห็นแนวโน้มด้านความเป็นอยู่และการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น
แหล่งข้อมูลสำหรับระบบแผนที่สารสนเทศ
Edinburghculturalmap
2.3 การสำรวจประสบการณ์งานเทศกาลจากสื่อออนไลน์
การสำรวจสื่อออนไลน์ 3 แพลตฟอร์ม คือ Facebook Twitter Tiktok ถูกดำเนินการในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2567 เพื่อสำรวจโพสสาธารณะที่ติด #งานเทศกาลทางศาสนาของ 9 จังหวัด เช่น #สงกรานต์นครสวรรค์ #ลอยกระทงตาก #งานวัดใหญ่ เป็นต้น ข้อมูลโพสที่ถูกรวบรวมมีตั้งแต่ปี 2558-เดือนพฤษภาคม 2567 จากนั้นจึงนำคำที่ปรากฎในโพสมาวิเคราะห์จัดกลุ่มตามประสบการณ์ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ สุนทรียภาพ บันเทิง การเรียนรู้ การหลุดพ้นจากความจำเจ และการมีส่วนร่วม ตามชุดคำที่จัดกลุ่มไว้ในแต่ละมิติ